“รถไฟความเร็วสูง” “รถไฟทางคู่ ต่างกันอย่างไร?

“รถไฟความเร็วสูง” เป็นรถไฟที่ถูกออกแบบมาเพื่อการขนส่งผู้โดยสารเท่านั้น มีความเร็วมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ “รถไฟรางคู่” นั้น หมายถึงรถไฟแบบดั้งเดิม ที่ได้รับการขยายเพิ่มจำนวนรางมากขึ้นเป็น 2 เส้น ซึ่งรถไฟแบบดั้งเดิมนี้ สามารถที่จะขนย้ายได้ทั้งผู้โดยสาร และสินค้าในขบวนเดียวกัน ตามแต่การเชื่อมต่อขบวนรถไฟ
.
ในอดีตที่ผ่านมา การรถไฟของไทย ใช้รถไฟแบบดั้งเดิมทั้งเพื่อการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิศวกรรมรถไฟที่เปลี่ยนแปลงไป รถไฟความเร็วสูงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว และได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยานพาหนะแห่งศตวรรษที่ 21” มีความสามารถที่จะขนส่งผู้โดยสารในระยะทางที่ไกลขึ้นได้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่สามารถเอื้อมถึง
.
รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับโครงข่ายการคมนาคมระบบรางของประเทศ อันจะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง ทั้งในด้านการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้า
สำหรับความแตกต่างโดยทั่วไประหว่างรถไฟ และรถไฟความเร็วสูงมีดังนี้
.
ความเร็ว
รถไฟ มีความเร็วสูงสุดที่  100 – 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รถไฟความเร็วสูง มีความเร็วสูงสุดที่  250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
.
ระยะห่างระหว่างสถานี
ระยะห่างระหว่างสถานีรถไฟ น้อยกว่า สามารถเชื่อมโยงระดับอำเภอต่ออำเภอ
ระยะห่างระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง มากกว่า เน้นการเชื่อมโยงระหว่างเมืองใหญ่
.
วัตถุประสงค์
รถไฟ ใช้เพื่อการขนส่งผู้โดยสารระยะใกล้ หรือเพื่อการขนส่งสินค้า
รถไฟความเร็วสูง ใช้เพื่อการขนส่งผู้โดยสารระยะกลาง - ไกลเท่านั้น
.
พลังงานต้นกำลัง
รถไฟ สามารถรองรับได้ทั้งหัวจักรดีเซล และหัวจักรไอน้ำ
รถไฟความเร็วสูง ใช้ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังขับเคลื่อน
.
ระบบการส่งไฟฟ้า
รถไฟ สามรถขับเคลื่อนได้ด้วยเชื้อเพลิงที่บรรทุกไปกับขบวน ไม่ต้องการระบบการส่ง-จ่ายไฟฟ้า
รถไฟความเร็วสูง ต้องการระบบการส่ง-จ่ายไฟฟ้าตลอดเส้นทาง ซึ่งประเทศไทยเลือกใช้ระบบ กระแสสลับ ขนาด 25 kV AC ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ซึ่งเป็นระบบที่รถไฟความเร็วสูงส่วนใหญ่ของโลกเลือกใช้ 
.
#โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงไทย #เชื่อมไทยเชื่อมโลก
#สร้างไทยไปด้วยกัน #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
#PMOC #ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี


ที่มา https://web.facebook.com/PMOCNEWS/posts/406159095031628