Monday, 4 December 2023
TRENDING

How To Study Effectively Discover The 12 Secrets To Studying Effectively That Will Help You Ace Your Next Test.

Learning how to study better helps avoid panic and frustration the next time a big test is coming up. After all, you are more likely to do well and be less stressed before a test when you have had time to properly review and practice the material!
.
How to study effectively? 
1. Get Organized: Carry a homework planner at all times. Entering homework, projects, tests and assignments as soon as they are assigned will make sure they aren’t forgotten about.
.
2. Pay Attention In Class: It’s important to concentrate and avoid distractions when the teacher is speaking. Practice active listening by concentrating on what’s being said and taking notes in your own words. This will help make sure you hear (and understand) what is being taught in class.
.
3. Steer Clear Of Distractions: Distractions are everywhere—from cell phones to social media to friends. Be aware of what distracts you in class and know how to steer clear of these distractions. Avoid sitting next to friends if you know they will distract you. Turning off your cell phone will also help make sure you are paying attention to your teacher.
.
4. Make Sure Notes Are Complete: Writing clear and complete notes in class will help you process the information you are learning. These notes will also become study notes that can be reviewed before a test. Talk to friends or the teacher if you have missed a class to ensure your notes are complete.
.
5. Ask Questions If You Don’t Understand: Raise your hand and ask questions if you don’t understand something. If you don’t feel comfortable asking in front of everyone, write yourself a reminder to talk to the teacher after class.
.
6. Make A Study Schedule/Plan: When making a study schedule, look at your planner and think about what needs to be accomplished. Think about the types of questions that will be on the test and the topics that will be covered so you know what you should focus on. Set specific goals for each study session, like how many topics you will cover by the end of the session.
.
7. Review Notes From Class Every Evening: After school, review and expand on the notes from class. Reviewing notes helps move material learned from short-term memory into long-term memory, which will help next time you have a big test.
.
8. Talk To Teachers: Teachers are there to help you do your best. Talk to your teacher and ask for clarification or extra help if you need it before your test. Taking the initiative to ask for help goes a long way with teachers!
.
9. Designate A Study Area: The best study spot is one that is quiet, well-lit, and in a low-traffic area. Make sure there is a clear workspace to study and write on. Everyone’s needs are different, so it is important you find a spot that works for you.
.
10. Study In Short Bursts: For every 30 minutes you study, take a short 10-15 minute break to recharge. Short study sessions are more effective and help you make the most of your study time. Find out more about taking a study break that works.
.
11. Simplify Study Notes: Make studying less overwhelming by condensing notes from class. Underline or highlight key words. Create visual aids like charts, story webs, mind maps, or outlines to organize and simplify information and help you remember better.
.
12. Study With A Group: Working with classmates encourages an interactive environment to keep you engaged. This gives you a chance to test your knowledge with others, quiz each other on the content, and help boost each other’s confidence.
.
Study Smart, Not Hard Knowing how to study effectively is a skill that will benefit you for life.


From: https://www.oxfordlearning.com/how-to-study-effectively/?fbclid=IwAR0ufB-OAAuyTONth2I794Nl1pVCOSve3CdfivK2qBk6CWf1eamTlDq26iY 
 

เหยือกกรองน้ำสุดมินิมอล มีไว้ติดห้อง สะดวกมาก เด็กหอสบาย กระหายเมื่อไร่ก็แค่กรอง

บอกก่อนเลยว่าตั้งแต่ขึ้นมหาลัยแล้วต้องมาอยู่หอใช้ชีวิตลำบากมาก เพราะปกติพิมเป็นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ เวลาที่จะหยิบจับหรือกินอะไรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมากกว่าคนอื่น พอมาอยู่หอไม่มีเครื่องกรองน้ำเหมือนที่บ้าน เลยต้องซื้อน้ำกินบ่อยมากๆ งบที่แม่ให้มาก็ไม่พอ แย่มั้ย แย่สิ้! พอมาเจอเจ้าตัวนี้บอกเลยใช้ชีวิตขึ้นง่ายมากกกเหยือกกรองน้ำของ Philips water รุ่น AWP2941

ตัวนี้เมื่อพูดถึงดีไซน์ของเหยือก คือบอกเลยมินิมอลมากกกก นี่เป็นสายแต่งห้องมินิมอลอยู่แล้วพอได้มาเจอไม่ต้องแต่งอะไรมากสวยถูกตาโดนใจมากกกกกกกกก แล้วน้ำหนักเบามากก พกพาสะดวกสุดๆๆๆๆ หิ้วไปบ้านเพื่อน ไปบ้านแม่ แบกกลับมาหอตัวเองคือชิวมาก ไม่หนักเลย

ตัวนี้เป็นระบบ Micro x Clean กรองได้ถึง 0.5 ไมครอน เจ้าเชื้อโรคจะตัวเล็กจิ๊ดแค่ไหนก็มาเหอะ เหยือกกรองน้ำตัวนี้เขาเอาอยู่ จากที่ได้ตัวนี้มาใช้รู้สึกว่าตัวเองกินน้ำสะอาดทุกวันเลย    โรคภูมิแพ้ก็ไม่ค่อยจะแสดงอาการมากละ เมื่อก่อนนะนิดๆหน่อยๆ ไอ มีน้ำมูก พอได้กินน้ำสะอาดๆ ที่กรองจากเหยือก อาการดีขึ้นมาก แถมประหยัดเงินในการซื้อน้ำอีกด้วยนะ
 รูปก่อนกรอง

 หลังกรองแล้ว


สังเกตได้เลยว่าน้ำก่อนหน้าตอนยังไม่กรองมีสิ่งสกปรกเจือปน ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น เศษอะไรต่างๆ ซึ่งตัวกรองมันจะทำงานโดยการกำจัดตะกอน ตะกรัน ตะกั่ว ปูนขาว ปราศจากกลิ่น สีและคลอรีน ทำให้หลังกรองน้ำใสขึ้นมากกก ไม่มีสิ่งปกปรกมาเจือปนเลยแบบนี้ปลอดภัยสบายหายห่วง

และตรงข้างบนฝาปิดเหยือกจะมีจอดิจิตอลแสดงอายุการใช้งานของไส้กรองจะบอกว่าเป็นตัวเลขเท่าไหร่ที่สามารถใช้ได้สะดวกสบายทันสมัยมากกกก

ส่วนตัวจะกรองจากน้ำที่ซื้อมาก็ได้หรือจะกรองน้ำประปามากินก็ได้ด้วยนะ ( อาจจะต้องกรอง 2-3 รอบ ) ปังแค่ไหนละกรองน้ำประปาได้ด้วยเป็นไง พิมชอบเอามากรองใส่ขวดน้ำเก็บไว้ทำกับข้าว หรือเอาไปแช่ตู้เย็นไว้กินบ้าง บอกเลยว่าสะดวกสบายมาก ไม่มีคงพลาดแล้วแหละทุกคน ต้องไปตำมาใช้กันละน้า
 


รีวิวโดย : พิม THE STUDY TIMES 

แรกมีโรงเรียนสาธิตในโลก แรกมีโรงเรียนสาธิตในไทย

โรงเรียนสาธิต เป็นโรงเรียนที่อยู่ในความดูแลของสถาบันฝึกหัดครู มีทั้งที่ตั้งอยู่ในบริเวณหรือนอกบริเวณของสถาบันฝึกหัดครู โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับสาธิตการเรียนการสอนนักศึกษาหรือครูอาจารย์ได้ศึกษาฝึกหัด และนำไปใช้เป็นแบบอย่าง
.
พ.ศ. 2331 โรงเรียนสาธิตสำหรับฝึกหัดครูแห่งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี ก่อนจะแพร่หลายไปสู่ประเทศอื่นในทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกาตามลำดับ
.
พ.ศ. 2375 สหรัฐอเมริกาเริ่มมีโรงเรียนสาธิตเป็นแห่งแรก และมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างมาก จนสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศต้นแบบของโรงเรียนสาธิต ซึ่งมีชื่อเรียกแบ่งตามอุดมการณ์และวิธีการเฉพาะของแต่ละสถาบัน ดังนี้
.
1. โรงเรียนฝึก (Practice School) ที่ใช้เป็นที่ฝึกสอนนักศึกษาในสถาบันฝึกหัดครู
2. โรงเรียนสาธิต (Demonstration School) สำหรับสาธิตการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้ศึกษา สังเกต และนำไปใช้เป็นแบบอย่างต่อไป
3. โรงเรียนปฏิบัติการทดลอง (Laboratory School) เพื่อใช้ในการปฏิบัติการทดลองการศึกษาโดยเน้นด้านจิตวิทยาพัฒนาการของนักเรียนเป็นหลัก
4. โรงเรียนทดลอง (Experimental School) เพื่อใช้ในการทดลองด้านต่างๆ บางแห่งจะไม่เปิดให้มีการฝึกสอนหรือฝึกงานใดๆ
5. โรงเรียนวิจัยและพัฒนา (Research and Development School) เป็นโรงเรียนในมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยและพัฒนาการของเด็กนักเรียนเป็นหลัก
6. โรงเรียนในมหาวิทยาลัย (University School) เป็นโรงเรียนในมหาวิทยาลัยที่เน้นการสอนนักเรียนให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ส่วนหน้าที่การฝึกสอนหรือการทดลองวิจัยเป็นเรื่องรอง
.
สำหรับประเทศไทย สถาบันฝึกหัดครูต่างๆ จำนวนมากใช้ชื่อโรงเรียนสาธิตและเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “Demonstration School” ซึ่งวิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความเห็นเกี่ยวกับชื่อโรงเรียนสาธิตว่า “…การใช้ชื่อ Demonstration School ในประเทศคงเป็นเพราะว่าเรามีความในใจที่ต้องการจะให้โรงเรียนประเภทนี้เป็นโรงเรียนตัวอย่าง แล้วเพื่อจะให้โรงเรียนอื่นๆ ได้มีโอกาสทำตามในโอกาสต่อไปก็อาจเป็นได้…”
.
โดยโรงเรียนสาธิตแห่งแรกของไทยจัดตั้งขึ้นที่ “โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์” ณ โรงเลี้ยงเด็กยศเส เปิดสอนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เพื่อเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกหัดงานครู
.
พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตอีก 1 แห่ง ชื่อว่า “โรงเรียนประถมวัดหัวลำโพง” ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกหัดสอนของแผนกวิชาครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายหลังย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่สนามกีฬาแห่งชาติ และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมัธยมหอวัง” เป็นโรงเรียนฝึกสอนของแผนกฝึกหัดครูชั้นประโยคมัธยม ในคณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2487 โรงเรียนมัธยมหอวังได้ล้มเลิกไป โดยเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา)
.
จากนั้นก็มีโรงเรียนสาธิตของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนด้านศึกษาศาสตร์ และต้องมีการฝึกหัดครู ก็ทยอยเปิดตามกันเรื่อยมา
.
โดยสรุปบทบาทของโรงเรียนสาธิต นอกจากเรื่องการเรียนการสอนนักเรียนของโรงเรียนแล้ว ยังมีหน้าที่อื่นๆ อีก ได้แก่ การฝึกสอน, การสาธิตการสอน, การสังเกตการสอน และการทดลอง-วิจัยทั้งวิธีการสอน หลักสูตร


ที่มา https://www.silpa-mag.com/history/article_82796?fbclid=IwAR20LyEYAd-SsZfHe9Nzhs6ScKHktcqH_IOyTpmyMrFY3345UylX7p520K4 
 

“Overtourism” ภาวะนักท่องเที่ยวล้นเกิน ปัญหาใหญ่ของเมืองท่องเที่ยวยอดฮิตทั่วโลก

หนึ่งในผลพลอยได้ของการล็อกดาวน์และจำกัดระยะห่างในช่วงโควิด-19 นอกจากจะทำให้หลายคนได้อยู่กับตัวเองมากขึ้นแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ธุรกิจต่าง ๆ ได้ใคร่ครวญถึงการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาของตัวเองด้วยเช่นกัน
.
ย้อนกลับไปช่วงก่อนที่จะโลกจะรู้จักกับโควิด-19 “ภาวะนักท่องเที่ยวล้นเกิน” หรือ “Overtourism” เป็นปัญหาใหญ่แก้ไม่ตกซึ่งเกิดขึ้นกับเมืองท่องเที่ยวยอดฮิตทั่วโลก เพราะเมื่อกระแสความนิยมในเมืองหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งสูงเกินไป ปริมาณนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสายเกินศักยภาพของพื้นที่ ก็ก่อให้เกิดผลกระทบหลายด้าน ตั้งแต่ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การกระจุกตัวและเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ เช่น อาหารการกิน อสังหาริมทรัพย์ ส่งผลถึงวิถีชีวิตโดยรวมของคนในพื้นที่ ไปจนถึงปัญหาการบริหารจัดการเมือง


ตัวอย่างผลกระทบในอดีตที่เห็นได้ชัดจากการมีนักท่องเที่ยวมากเกินไป คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอย่าง “พิพิธภัณฑ์ลูฟว์” ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมถึง 10.2 ล้านคนในปี 2018 ซึ่งสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้าถึง 25% และเป็นตัวเลขที่ยังไม่มีพิพิธภัณฑ์ใดในโลกเคยต้องรับมือมาก่อน วันหนึ่งในเดือนพฤษภาคมปี 2019 ลูฟว์จำเป็นต้องปิดให้บริการชั่วคราวทั้งวัน เนื่องจากเจ้าหน้าที่แผนกต้อนรับและรักษาความปลอดภัยในพิพิธภัณฑ์พากันประท้วงหยุดงาน ด้วยความรู้สึกเหลืออดกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินกว่าจะรองรับไหว 
.
"ลูฟว์กำลังหายใจไม่ออก" คือคำที่สหภาพแรงงานระบุในแถลงการณ์ “ในขณะที่จำนวนผู้เข้าชมสูงขึ้นมากกว่า 20% ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา แต่พระราชวังไม่ได้ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย…สถานการณ์ในวันนี้เกินกว่าจะต้านทานได้แล้ว”
.
ในครั้งนั้นตัวแทนสหภาพฯ ได้เข้ามาเจรจากับฝ่ายบริหารของลูฟว์เพื่อหาทางลดปริมาณผู้เยี่ยมชมในพิพิธภัณฑ์ หนึ่งในพนักงานของลูฟว์ซึ่งเป็นตัวแทนสหภาพฯ กล่าวกับสำนักข่าว AP ว่า เขาคิดว่าพนักงานไม่สมควรที่จะทำงานในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ พร้อมกับระบุว่าเมื่อความแออัดทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนรู้สึกหงุดหงิดและแสดงความก้าวร้าว โดยเฉพาะกับเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ที่ทำงานบริเวณใกล้กับภาพ Mona Lisa (ซึ่งในขณะนั้นมีการปิดซ่อมแซมพื้นที่บางส่วน) เนื่องจากพวกเขาต้องมาเบียดเสียดกันในพื้นที่เล็ก ๆ และที่สำคัญกว่านั้นคือ จำนวนนักท่องเที่ยวที่ล้นเกินนั้นจะส่งผลกระทบไปถึงการบังคับใช้มาตรการอพยพคนในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หากเกิดเหตุไม่คาดฝันในพิพิธภัณฑ์และการอพยพไม่อาจทำได้อย่างที่ควรจะเป็น ย่อมก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้
.
เห็นได้ชัดว่า ภาวะนักท่องเที่ยวล้นเกินทำให้เกิดปัญหาด้านการจัดการ การประท้วงในครั้งนั้นจึงจบลงด้วยการที่ฝ่ายบริหารของลูฟว์ออกกฎให้ผู้ที่ต้องการมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต้องจองคิวมาก่อน มิฉะนั้นพวกเขาจะต้องต่อแถวนาน หรืออาจจะไม่มีโอกาสได้เข้าชมเลย


ตัดภาพกลับมาที่อิตาลี หอศิลป์อุฟฟิซี (Uffizi Gallery) ในเมืองฟลอเรนซ์ หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศและเป็นที่จัดแสดงผลงานศิลปะเลื่องชื่อจำนวนมาก เช่น ภาพวาด The Birth of Venus ของบอตติเชลลี และงานประติมากรรมหินอ่อนแกะสลัก David ของมิเกลันเจโล เมื่อต้องปิดให้บริการชั่วคราวเนื่องจากการประกาศล็อกดาวน์ในปี 2020 ผู้อำนวยการหอศิลป์จึงเกิดความคิดที่จะถือโอกาสวางแผนปฏิวัติการท่องเที่ยวในฟลอเรนซ์เสียใหม่ ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะถาโถมกลับเข้ามาอีกครั้ง ด้วยโครงการที่ใช้ชื่อว่า “Scattered Uffizi” (Uffizi Diffusi ในภาษาอิตาเลียน)
.
ไอค์ ชมิดท์ ผู้อำนวยการหอศิลป์อุฟฟิซีกล่าวกับ CNN Travel ว่า ในช่วงล็อกดาวน์ เขาได้เริ่มมองหาสถานที่จัดแสดงงานศิลปะในเมืองอื่น ๆ มาจับคู่กับบรรดางานศิลปะที่อยู่ในครอบครองของอุฟฟิซี เพื่อกระจายชิ้นงานออกไปจัดแสดงในเมืองอื่น ๆ ทั่วแคว้นทัสคานี แทนที่จะให้นักท่องเที่ยวมากระจุกตัวอยู่ที่อุฟฟิซีเพียงแห่งเดียว “ศิลปะไม่สามารถอยู่รอดได้ในแกลเลอรีขนาดใหญ่เพียงลำพัง...เราต้องการพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหลายแห่งทั่วทั้งภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานที่ที่เป็นต้นกำเนิดของงานศิลปะแต่ละชิ้น” เขากล่าว
.
นับตั้งแต่มีการประกาศข่าวเกี่ยวกับโปรเจ็กต์นี้ออกไป เมืองที่อยากจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ก็ได้เสนอชื่ออาคารจัดแสดงงานเข้ามา เช่น เมือง Lucca ซึ่งเสนอให้นำชิ้นงานศิลปะมาจัดแสดงในพระราชวัง Palazzo Ducale อันเป็นสัญลักษณ์ของเวนิส เมือง Seravezza ซึ่งเป็นที่ตั้งของหนึ่งในวิลล่าของตระกูล Medici ฯลฯ


จนเวลาผ่านไปเกือบปี หอศิลป์อุฟฟิซีจึงได้ออกมาประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2021 ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีแกลเลอรีท้องถิ่นกระจายทั่วแคว้นทัสคานีมากถึง 100 แห่ง โดยแกลเลอรีส่วนหนึ่งจะใช้พื้นที่ในวังเก่า คอนแวนต์ และสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอื่น ๆ มาดัดแปลงเป็นสถานที่จัดแสดงงานศิลปะ ชิ้นงานศิลปะส่วนหนึ่งของอุฟฟิซีจะได้ไปจัดแสดงในเมืองและหมู่บ้านเล็ก ๆ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของผลงานแต่ละชิ้น เพื่อกระจายผู้เข้าชม กระจายรายได้ รวมถึงชะลอผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ให้กระจุกตัวอยู่ที่กลางเมืองฟลอเรนซ์อย่างเดียว
.
ผ่านมา เช่น นิทรรศการ Giottesque ที่จะจัดแสดงภาพวาดของ Giotto หนึ่งในจิตรกรซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดในยุคเรอเนซองส์ยุคแรก ในโบสถ์ท้องถิ่นของ Montespertoli หมู่บ้านเล็ก ๆ บนยอดเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟลอเรนซ์ ขณะที่เมือง Castiglion Fiorentino จะทำการแลกเปลี่ยนงานศิลปะที่มีธีมเกี่ยวกับ St. Francis กับอุฟฟิซี โดยจะส่งภาพวาดฝีมือ Bartolomeo della Gatta ไปยังจัดแสดงในห้องศตวรรษที่ 15 ของอุฟฟิซี แลกกับภาพวาด St. Francis Receives the Stigmata ฝีมือจิตรกรบาโรกยุคแรกอย่าง Cigoli 
.
และล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผลงานศิลปะของหอศิลป์อุฟฟิซีจำนวน 20 ชิ้นที่เกี่ยวข้องกับจักรพรรดินโปเลียน ก็ถูกส่งไปจัดแสดงในนิทรรศการครบรอบ 200 ปีของการจากไปของนโปเลียนบนเกาะ Elba ซึ่งเป็นสถานที่ที่นโปเลียนถูกเนรเทศให้ไปอยู่อย่างโดดเดี่ยว
.
มาริโอ อเญลลี (Mario Agnelli) นายกเทศมนตรีเมือง Castiglion Fiorentino บอกกับ CNN ว่า ก่อนหน้านี้เขาก็เคยคิดที่จะจัดนิทรรศการลักษณะนี้เหมือนกัน "แต่การจะทำอย่างนั้นได้คุณต้องมีค่าใช้จ่ายด้านประกันและการขนส่ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับเมืองเล็ก ๆ อย่างเรา...แม้ว่าเขา (ผู้อำนวยการหอศิลป์ฯ) จะให้ยืมผลงานของบอตติเชลลีสักชิ้น เราก็ไม่มีศักยภาพที่จะทำได้" การที่หอศิลป์อุฟฟิซีเป็นฝ่ายริเริ่มโครงการเสียเอง จึงช่วยลดภาระด้านเงินทุนการดำเนินการให้เมืองเล็ก ๆ ได้ดี
.
เที่ยวไม่กระจุก สุขกระจาย อันที่จริงแล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชมิดท์ให้ยืมผลงานศิลปะไปจัดแสดงนอกสถานที่ เพราะก่อนหน้านี้ในปี 2019 เขาเคยส่งภาพวาดทิวทัศน์ของลีโอนาร์โด ดา วินชี ไปอวดโฉมที่นิทรรศการในเมือง Anghiari บ้านเกิดของดาวินชีเนื่องในโอกาสครบรอบ 500 ปีของการจากไปของศิลปินผู้เลื่องชื่อ ครั้งหนึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า การนำภาพวาดไปจัดแสดงในครั้งนั้นถือเป็นโอกาสพิเศษที่ผู้เข้าชมจะได้เห็นทั้งภาพวาด และยังได้ก้าวออกไปชมภูมิทัศน์ที่สวยงามของเมือง ซึ่งเป็นแรงบันดาลในการสร้างสรรค์ภาพวาดชิ้นนั้นของดาวินชีด้วย ยิ่งไปกว่านั้นอานิสงส์จากภาพวาดยังดึงดูดให้ยอดผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นพุ่งสูงขึ้นถึง 4 เท่า
.
จากบทเรียนในอดีต ชมิดท์จึงหวังว่าโครงการ Uffizi Diffuzi จะช่วยลดการกระจุกตัวทั้งในหอศิลป์และเมืองฟลอเรนซ์ลงได้ พร้อมทั้งกระจายรายได้และสร้างงานในระดับท้องถิ่นให้แก่เมืองข้างเคียง พร้อม ๆ กับที่ผลงานศิลปะหลายชิ้นจะได้รับการบูรณะฟื้นฟูเพื่อนำไปจัดแสดง


ชมิดท์ยังหวังด้วยว่า โครงการนี้จะช่วยให้ชาวแคว้นทัสคานีได้ใกล้ชิดงานศิลปะซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของพวกเขายิ่งขึ้น เพราะเขาคิดว่ารูปแบบการเผยแพร่วัฒนธรรมในปัจจุบันนั้นยึดติดกับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมากเกินไป บ่อยครั้งที่นักท่องเที่ยวท้องถิ่นเดินทางข้ามเมืองมาชมงานศิลปะของศิลปินที่มาจากบ้านเกิดเดียวกับพวกเขา แต่การท่องเที่ยวที่ทุกอย่างมากระจุกตัวอยู่ในหอศิลป์แห่งเดียวกลับลดทอนความรื่นรมย์ในการชมผลงานลง และด้วยความที่อุฟฟิซีมีงานศิลปะในครอบครองจำนวนมาก ทำให้ต้องหมุนเวียนชิ้นงานออกมาโชว์ นักท่องเที่ยวบางคนจึงไม่มีโอกาสได้เห็นชิ้นงานที่ตั้งใจมาชม
.
“ขณะนี้เรามีผลงานศิลปะจัดแสดงอยู่ในหอศิลป์มากกว่า 3,000 ชิ้น ซึ่งเกินเพียงพอแล้ว…โครงการ Uffizi Diffuzi จะเปิดโอกาสให้งานศิลปะที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจได้ฉายแสง ในบรรยากาศการจัดแสดงที่เงียบสงบและใกล้ชิดกับผู้ชมยิ่งขึ้น” 
.
แม้จะฟังดูเรียบง่าย แต่การกระจายงานศิลปะออกไปจัดแสดงในเมืองอื่น ๆ ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ช่วยบรรเทาปัญหานักท่องเที่ยวล้นเกินในเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ๆ พร้อมกับลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองในแต่ละประเทศได้ดีทีเดียว


ที่มา https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=33363&lang=th&fbclid=IwAR0MMQsLkQFTGCkjuLz7t_aHJCWk5j85ohB1bVBhmzVm7QsRhBFzizKTWik 
 

สวมหน้ากากอนามัยออกกำลัง ส่งผลอย่างไรกับสภาพร่างกาย ?

หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าการสวมหน้ากากขณะออกกำลังกายส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่อย่างไร เพราะฉะนั้นการรู้เท่าทันข้อมูลที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยคลายความกังวลใจและปรับพฤติกรรมขณะออกกำลังกายได้อย่างถูกวิธี
.
การใส่หน้ากาก (Mask) ขณะออกกำลังกายอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ เพราะทำให้อึดอัด หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายขึ้น อาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ปอดและหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละบุคคลและชนิดของหน้ากากที่สวมใส่ ดังนี้ 
.
1. นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ อาจมีความสามารถในการปรับตัวและทนต่อการหายใจลำบากได้ โดยขณะที่ออกกำลังกายแบบไม่หนักสามารถสวมใส่หน้ากาก (Mask) ได้ แต่หากต้องออกกำลังกายที่หนักขึ้นอาจทำให้เหนื่อยง่ายขึ้นได้ เพราะต้องใช้แรงในการหายใจที่เพิ่มมากกว่าปกติ ทำให้ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายลดลงได้
.
มีการประยุกต์ใช้หน้ากากในการออกกำลังกายกับนักกีฬาระดับสูงเช่นกัน โดยหวังว่าจะช่วยในการเพิ่มสมรรถภาพความฟิต แต่จากงานวิจัยในปัจจุบัน ในการออกกำลังกายภายใต้สภาวะปกติ ยังไม่พบว่าสามารถช่วยเพิ่มความฟิตได้มากกว่าการไม่สวมหน้ากาก แต่สามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกล้ามเนื้อระบบหายใจได้ในนักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
.
2. ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำหรือผู้สูงอายุ อาจมีความเสี่ยงมากขึ้นจากการสวมใส่หน้ากาก (Mask) ขณะออกกำลังกาย เนื่องจากร่างกายและหัวใจต้องทำงานหนักมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ อาจจะยิ่งเสี่ยงอันตรายมากขึ้น และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
.
ชนิดของหน้ากากที่สวมใส่มีผลขณะออกกำลังกายเช่นเดียวกัน ได้แก่

1. หน้ากาก N95 หากสวมใส่หน้ากากที่ป้องกันอนุภาคเล็ก ๆ ได้ดี เช่น หน้ากาก N95 ก็ยิ่งทำให้อึดอัดเวลาสวมใส่มากขึ้น แม้กระทั่งการพูดคุยขณะใส่ N95 ยังรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หากสวมใส่ขณะออกกำลังกาย นอกจากสมรรถภาพในการป้องกันฝุ่นและเชื้อไวรัสจะลดลง เนื่องจากหน้ากากไม่แนบกับใบหน้าแล้ว ยังทำให้ผู้ใส่หายใจลำบาก และเหนื่อยง่ายมาก ๆ อีกด้วย แม้จะเลือกใช้แบบมี Valve ที่ช่วยหายใจออกแล้วก็ตาม
.
2. หน้ากากอนามัย หากสวมใส่หน้ากากอนามัยแบบถูกวิธีจะทำให้อึดอัดและเหนื่อยง่ายเช่นเดียวกัน และขณะออกกำลังกายจะทำให้หน้ากากอนามัยเปียกจากเหงื่อ อาจลดประสิทธิภาพของการป้องกันเชื้อและเพิ่มความเสี่ยงในการสัมผัสใบหน้ามากขึ้น
.
3.หน้ากากผ้า หากสวมใส่หน้ากากผ้ามักหายใจได้สะดวกกว่าแบบอื่น ๆ แต่ไม่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 หรือป้องกันไวรัสได้หากได้รับการไอหรือจามใส่โดยตรง 
ผ้าคลุมใบหน้าหรือผ้าบัฟ อาจเลือกใช้ผ้าคลุมบริเวณปากและจมูกแทนการสวมใส่หน้ากากได้ ช่วยให้หายใจได้สะดวกกว่า สามารถลดระยะทางการกระจายละอองฝอยได้บ้างหากผู้สวมใส่ไอ จาม แต่ประสิทธิภาพการป้องกันจะไม่เทียบเท่าหน้ากากอนามัยและหากใส่คลุมอยู่ตลอดก็ทำให้เกิดความร้อนและอึดอัดได้เช่นเดียวกัน
.
ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อป้องกัน และลดการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 การออกกำลังกายที่บ้านโดยไม่ต้องสวมใส่หน้ากาก (Mask) เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด หากจำเป็นต้องออกกำลังกายนอกบ้าน แนะนำให้ทุกท่านหมั่นสังเกตและประเมินตนเอง เลือกชนิดการออกกำลังกาย และประเภทหน้ากากอนามัยให้เหมาะสม ไม่ออกกำลังกายอย่างหนักจนเกินไป หลีกเลี่ยงบริเวณที่คนพลุกพล่าน รักษาระยะห่าง หมั่นล้างมือเป็นประจำ และหากออกกำลังกายในสถานที่ปลอดโปร่ง คนไม่พลุกพล่าน ไม่แนะนำให้ใส่หน้ากากขณะออกกำลังกาย


ที่มา https://www.bangkokhospital.com/content/wearing-mask-while-exercising 
 

7 ข้อควรทำ...วันเปิดเทอม

เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากจะเปิดเทอมหรอก ที่อยากน่ะ อยากเจอเพื่อนซะมากกว่า ชีวิตเปิดเทอมของแต่ละคนคงไม่ต่างแตก…ตื่นนอน อาบน้ำ แปรงฟัน กินข้าว > ไปรร. > เรียน > กินข้าว > เรียน > กลับบ้าน > ทำการบ้าน > กินข้าว > อาบน้ำ นอน หลายๆ คนคงไม่อยากทำแบบนี้หรอก แต่เพื่อเกรดแล้ว ก็สู้ตายใช่ไหมล่ะ แต่ไหนๆ ก็เปิดเทอมแล้ว ขออัพเดทข้อควรทำ เมื่อเปิดเทอมเตือนชาวทีนกันสักหน่อย
.
1. ตั้งเป้าหมาย...กำหนดเป้าหมายไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เลย ว่าที่เราจะเรียนไปทั้งหมดในปีนี้ เราต้องการอะไร เช่น ปีนี้อยากได้เกรดเฉลี่ยเกิน 3.00 ก็ว่ากันไป~(ไม่ควรตั้งต่ำหรือสูงเกินไป) เมื่อมีเป้าหมายแล้วจะทำให้เราตั้งใจเรียนมากขึ้น จากที่ไม่ค่อยตั้งใจเรียน เกรดเท่าไรก็ช่างมัน พอมีเป้าหมายทำให้รู้ว่าต้องตั้งใจเรียนมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเมื่อมีของรางวัลมาล่อ ก็อาจจะทำให้เราตั้งใจเรียนมากขึ้นก็ได้
.
2. สะสางงานแต่ต้นเทอม... หลายๆ คนชอบชะล่าใจ เวลาอาจารย์สั่งงานตั้งแต่ต้นเทอม…”โอ๊ย อีกตั้งเดือนนึง กว่าจะส่ง ไว้ทำวันหลังก็ได้” จากนั้นพอไปถึงกลางเทอม งานก็ทับถมมาเรื่อยๆ สุดท้ายก็ทำไม่ทัน…จริงไม่จริง? อย่าไปให้ดินพอกหางหมู เตือนแล้วนะ!!!
.
3. งานด่วน! มาก่อนงานใหญ่... แบบนี้เขาเรียกว่า ไฟ-ลน-ก้น งานที่ส่งก่อนก็น่าจะทำก่อน ไม่ใช่เรียงลำดับการทำงานตามใจชอบ “โอ๊ย วิชานี้ไม่ชอบเลย ทำวิชานั้นก่อนละกัน” แต่วิชานี้มันส่งก่อนวิชานั้นนี่หว่า…เมื่อท่านทำวิชานั้นเสร็จ ก็เลยกำหนดส่งวิชานี้ไปแล้ว
.
4. เลือกทำเลที่นั่งให้ดี...ทำเลที่นั่งในห้องก็มีผลต่อการเรียนเหมือนกัน ควรเป็นที่ที่เห็นกระดานชัดๆ หนีเรียนสะดวก หลับสบาย อ่านการ์ตูนใต้โต๊ะไม่มีใครเห็น ข้อนี้คงเป็นสาเหตุของปัญหารถติดวันเปิดเทอมวันแรกสินะ…วันแรกใครๆ ก็อยากให้ ผปค.ไปส่ง จะได้ยึดทำเลดีๆ ไว้ ได้นั่งใกล้เพื่อนสนิท ใกล้พัดลม ฯลฯ
.
5. คบเด็กเรียนไว้สักคน…ถ้ายังไม่มีเพื่อนที่เรียกได้ว่าเป็นเด็ก (บ้า) เรียน ควรรีบหาไว้สักคนนึง ยิ่งถ้าท่านเป็นคนชอบโดด หรือหยุดเรียนบ่อย บลาๆ ยิ่งสำคัญเข้าไปใหญ่ เพราะเวลาคาบไหนที่เราไม่อยู่ จะได้มาตามงานทีหลังได้
.
6. เลือกคาบโดดเรียน...ก่อนโดดเรียนก็คิดสักนิดเถอะว่าโดดแล้วมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน เลือกวิชาที่โดดแล้วมีผลน้อยที่สุด เป็นวิชาที่ท่านถนัด ไม่ต้องเรียนก็ทำงานส่งได้ เช่น อาจจะเป็นคณิตศาสตร์ หรือ ศิลปะ อะไรอย่างนี้ แต่แนะนำว่าอย่าโดดดีที่สุด อย่างน้อยเข้าไปนั่งหลับ / อ่านการ์ตูนในคาบก็ยังดี จะได้รู้ว่าอาจารย์เขาสั่งงานอะไรบ้าง + ไม่โดนตัดคะแนนฝ่ายปกครอง
.
7.อย่ามีเรื่องกับ อ.ประจำชั้น...การมีเรื่องกับอาจารย์ประจำชั้นหรืออาจารย์ที่ปรึกษา ตั้งแต่ต้นปีช่างเป็นฝันร้ายเหลือเกิน เพราะเราจะมีความรู้สึก…ว่าเราไม่มีตัวตนหรือไม่ได้รับการใส่ใจตลอดทั้งปี ระวังไว้นะ…


ที่มา https://teen.mthai.com/education/93072.html?fbclid=IwAR1IBW6ULCrvLv6E_8tAvfuJPglzty_FNLM-xsGWzSd2xs2sZb3CDSmTZS0 
 

“เครื่องแบบนักเรียน” เมื่อแรกมีในไทย สู่ความภาคภูมิใจแห่งสถาบันศึกษา

การแต่งเครื่องแบบมีพื้นฐานจากการแต่งตัวให้เข้ากับกาลเทศะ ความเหมาะสมของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เครื่องแบบของนักเรียนชายส่วนใหญ่ ประกอบด้วยกางเกงขาสั้นหรือกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ตสีขาว ขณะที่เครื่องแบบนักเรียนหญิงจะต่างกันในแต่ละประเทศและระบบการศึกษาของโรงเรียน อีกทั้งมีการออก พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน มาบังคับใช้ด้วย เพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย และเป็นการคุ้มครอง มิให้บุคคลอื่นใดแต่งเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่มีสิทธิที่จะแต่ง
.
โรงเรียนในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาล 5 ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นก็ทรงให้มีโรงเรียนสำหรับสามัญชนตามมา และได้มีพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน ปี 2482 ออกมาบังคับใช้



หลังจากใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน พบว่าบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงยกเลิกพระราชบัญญัติฯ ปี 2482 แล้วให้ใช้ พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 แทน โดยกำหนดให้มีเครื่องแบบนักเรียนไว้เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อประโยชน์ในการประหยัดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
.
สำหรับวิวัฒนาการของเครื่องแบบนักเรียนไทย ดร.อาทร จันทวิมล อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษาหอประวัติศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการได้เคยให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ยุคแรกของการศึกษาไทย การเรียนการสอนมีขึ้นที่วัดโดยพระเป็นผู้สอนหนังสือ ต่อมาเมื่อมีโรงเรียนหลวง โรงเรียนราษฎร์ เกิดขึ้น ก็มีการบังคับใช้ เครื่องแบบนักเรียน ตามมา
.
ส่วนที่มาของเครื่องแบบนักเรียน พบว่าในปี ค.ศ.1846 ได้ปรากฏภาพเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดของอังกฤษ (โอรสพระราชินีวิคตอเรีย) ทรงแต่งชุดกะลาสีเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ ชุดดังกล่าวจึงกลายเป็นที่นิยมของเด็กๆ ทั่วโลก จากนั้นมีการนำชุดกะลาสีไปเป็นแบบฟอร์มชุดนักเรียนในสหรัฐอเมริกา และแพร่ขยายต่อไปยังเยอรมนี  ญี่ปุ่น และประเทศไทย



สำหรับประเทศไทยเรามีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย อาทิ ในยุคหนึ่ง เครื่องแบบนักเรียนไทยในยุคหนึ่งต้องสวมหมวกด้วย โดยเกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นหมวกที่ทำด้วยวัสดุหลายรูปแบบ ฯลฯ ถือว่าเป็นยุคที่นักเรียนสวมหมวกเป็นเครื่องแบบเป็นยุคแรก 
.
บางโรงเรียนใช้เครื่องแบบเป็น "ชุดราชปะแตน" นอกจากนี้ยังพบว่ามีบางโรงเรียนมีเครื่องแบบนักเรียนคล้ายชุดทหาร นั่นคือ "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" เนื่องจากโรงเรียนนี้มีจุดเริ่มต้นจากโรงเรียนในพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นโรงเรียนเป็นการฝึกหัดบุคคลเข้ารับราชการทหาร เครื่องแต่งกายจึงใช้แบบทหาร
ต่อมาโรงเรียนถูกเปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนสำหรับพลเรือน เครื่องแต่งกายของนักเรียนจึงเปลี่ยนไป โดยในยุคแรกเครื่องแบบนักเรียนใช้เป็น "เสื้อราชปะแตน นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมถุงเท้ายาวสีขาวพับขอบบน รองเท้าหนังสีดำ"
.
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เครื่องแบบโรงเรียนนี้ได้ปรับเปลี่ยนเป็นกางเกงตัดเป็นจีบ รูดเลยหัวเข่าคล้ายโจงกระเบน ต่อมาเปลี่ยนรูปแบบเป็นกางเกงขาสั้นแคบสีดำ เสื้อคงเดิม และสวมหมวกยาวปีกกลมคาดแถบผ้าสีเหลือง ตรงกลางหน้าหมวกมีเข็มกลัดโลหะอักษร สก. จากนั้นเครื่องแบบนักเรียนถูกเปลี่ยนอีกครั้ง กลายเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงขาสั้นสีกากี และพัฒนามาเป็นกางเกงขาสั้นสีดำ
.
ชุดเครื่องแบบ นักเรียนชาย-นักเรียนหญิง ทั่วไป ชุดนักเรียนที่พบเห็นส่วนใหญ่ สำหรับโรงเรียนรัฐบาล นักเรียนชายจะเป็นเสื้อแบบเชิ้ตแขนสั้น กางเกงสีกากี บางโรงเรียนใช้กางเกงสีดำ ส่วนผู้หญิงก็เป็นเสื้อคอปกใหญ่สีขาว กระโปรงสีน้ำเงินหรือสีดำ อาจมีโบว์ผูกที่คอเสื้อด้วย
.
ขณะที่โรงเรียนเอกชน โรงเรียนนานาชาติ ก็มีเครื่องแบบที่เหมาะสมของแต่ละโรงเรียน โดยกระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้แต่ละโรงเรียนพิจารณาและดำเนินตามกฎระเบียบที่กำหนด
.
นอกจากนี้ก็เริ่มมีพัฒนาการอื่นๆ เช่น การปักเลขประจำตัวนักเรียน ปักกระเป๋าเสื้อ บางโรงเรียนติดเข็มโรงเรียนแทนการปักชื่อโรงเรียน เป็นต้น
.
“เครื่องแบบนักเรียน คือความภาคภูมิใจ” ปฏิเสธไม่ได้ว่าสำหรับบางคน การได้สวมใส่ชุดเครื่องแบบนักเรียนของโรงเรียนที่ตนเองสอบเข้าได้นั้น ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่ง อีกทั้งชุดนักเรียนยังมีบทบาทต่อการตัดสินใจเข้าเรียนในสถานศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กจะเห็นว่า โรงเรียนบางแห่งออกแบบยูนิฟอร์มสวยงามชวนสวมใส่  เป็นต้น



ด้วยรูปแบบชุดที่มีเอกลักษณ์ของแต่ละโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนรัฐบาล เอกชน สาธิต หรือนานาชาติ เครื่องแต่งกายยังมีความหมายบ่งบอกถึงรูปลักษณ์การจัดการเรียนการสอน และเป็นเครื่องบอกเล่าประวัติความเป็นมาของโรงเรียนอีกด้วย


ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/social/910481?fbclid=IwAR1Va1O-ZOsRqXFI-cok03SX8OfhFjlVe3OaP3Hz1odytEZRjQ9-wZVuJiU
 

This is Jazz!!! รู้จักดนตรีแจ๊สกันเถิด เกิดรื่นรมย์

ดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีรูปแบบหนึ่งที่เกิดในอเมริกา ต่อมาได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากขึ้น  ดังจะเห็นได้จากการเปิดเพลงแจ๊สในงานเต้นรำต่าง ๆ ของคนไทยในสมัยก่อน เราจะพาคุณไปรู้จักกับดนตรีแจ๊สในประเภทต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมมาไว้ 10 ประเภท ดังนี้.

1. New Orleans Jazz / Dixieland Jazz
ว่ากันว่าดนตรีแจ๊สเกิดขึ้นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ณ ย่านโลกีย์นาม “สตอรีวิลล์” ณ เมืองนิวออร์ลีนส์ มลรัฐหลุยส์เซียน่า สหรัฐอเมริกา เกิดจากการที่คนดำในแถบนั้นเอาเครื่องดนตรีในวงมาร์ชแบบคนขาวมาเล่นในแบบที่ต่างออกไป อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยนั้นสังคมอเมริกันก็ยังเหยียดสีผิวอยู่มากและยังไม่ให้คนดำเข้าไปอัดเพลงในห้องบันทึกเสียง สิ่งที่หลงเหลือถึงปัจจุบันของดนตรีแจ๊สยุคนี้ก็คือ งานบันทึกเสียงของวง The Original Dixieland Jass Band ซึ่งเป็นวงคนขาวล้วน ในช่วงนั้นผู้คนมักสะกดคำว่าแจ๊สเป็น Jass ก่อนจะปรับมาเป็น Jazz ในภายหลัง 
.
นี่คือที่มาของการที่ดนตรีแจ๊สยุคแรกสุด บางทีก็เรียกว่า “ดิ๊กซี่แลนด์แจ๊ส” ทั้งนี้ดนตรีแจ๊สยุคแรกสุดก็ค่อยๆ ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ มาตลอด และหลักฐานความนิยมก็คือภาพยนตร์ The Jazz Singer ในปี 1927 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีเสียงประกอบบนแผ่นฟิล์ม (ก่อนหน้านี้เป็น “หนังเงียบ” หมด)



2. Big Band / Swing
ดนตรีแจ๊สเข้าสู่ยุครุ่งเรืองสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1930 ถึงตอนปลายทศวรรษ 1940 ยุคนี้เพลงแจ๊สในแบบ “สวิง” มีสถานะเปรียบเสมือนเพลงป็อปในยุคปัจจุบัน คือเป็นเพลงที่ใช้เต้นรำและเป็นเพลงที่นิยมในหมู่วัยรุ่น
.
รูปแบบวงแจ๊สยุคนี้ขยายใหญ่โตเป็นวงออร์เคสตร้าขนาดย่อมๆ ด้วยเหตุผลว่าในยุคนั้นเทคโนโลยีขยายเสียงยังไม่พัฒนาไปไกล และยังไม่มีระบบลำโพงขยายเสียงให้ได้ยินทั้งฮอลล์อย่างทุกวันนี้ การจะเล่นดนตรีให้ได้เสียงอันดังก็ต้องใช้เทคนิคแบบคลาสสิคคือ เล่นเครื่องดนตรีพร้อมกันเยอะๆ ไม่งั้นคนก็ไม่ได้ยิน ซึ่งการที่วงดนตรีมีขนาดใหญ่นี้ ก็ทำให้บางทีคนเรียกดนตรีแจ็สแบบสวิงว่า “บิ๊กแบนด์” โดยมีผู้นำวงที่โดดเด่นอย่างเช่น Louise Armstrong, Duke Ellington และ Benny Goodman



3. Bebop / Post-Bop
ดนตรีแจ๊สในฐานะเพลงป็อปและเพลงเต้นรำเริ่มอิ่มตัวไปตามกาลเวลา จนช่วงกลางๆ ทศวรรษที่ 1940 ก็เริ่มมีนักดนตรีแจ๊สบางส่วนพยายามพัฒนาดนตรีแจ๊สที่ซับซ้อนขึ้นเพื่อการนั่งฟังอย่างจริงจังขึ้นมา ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ดนตรีแจ็สที่เป็นวงที่เล็กลง ใช้เครื่องดนตรีไม่เกิน 5-6 ชิ้น ไม่ใช่การใช้นักดนตรีเป็นสิบชีวิตแบบสไตล์สวิง ภาคดนตรีก็มีความซับซ้อนขึ้น และเพิ่มการใช้โน๊ตและคอร์ดที่พิสดารพันลึกขึ้น รวมถึงเพิ่มส่วนการด้นสดยาวๆ ในเพลง ให้นักดนตรีให้แสดงฝีมือกันเต็มที่ในทุกเครื่องดนตรี ทั้งหมดทำให้เพลงแจ๊สกลายมาเป็นเพลงฟังยากแบบทุกวันนี้
.
ดนตรีแจ๊สชนิดใหม่ที่ว่ามานี้ถูกเรียกว่า “บีบ็อป” ซึ่งถือเป็นแจ๊สชนิดแรกที่เป็นดนตรีสำหรับใช้ฟังโดยเฉพาะ ไม่ได้เป็นดนตรีเต้นรำแบบเดิมอีกต่อไป ซึ่งหลังจากดนตรี “บีบ็อป” แจ๊สที่มีความซับซ้อนไม่เหมาะแก่การเต้นรำก็ถูกพัฒนาไปสารพัดและมีชื่อเรียกรวมๆ ว่า “โพสต์บ็อป” ซึ่งถ้าจะนับว่าบิดาของบีบ็อบคือ Charlie Parker แล้ว เจ้าพ่อของโพสต์บ็อปก็คงจะเป็น Miles Davis



4. Modern Jazz / Avant-Garde Jazz / Free Jazz
หลังจากบีบ็อปเป็นแนวทางหลักของแจ๊สในช่วงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมา ก็ค่อยๆ มีนักดนตรีแจ๊สจำนวนหนึ่งยังเห็นว่าแนวทางใหม่ของแจ๊สที่ให้อิสระนักดนตรีเพิ่มอย่าง “บีบ็อป” ก็ยังไม่ให้อิสระนักดนตรีเพียงพอ ก็เลยผลักดันดนตรี แจ๊สให้มีอิสระมากขึ้นอีกขั้น ซึ่งจุดยอดของการผลักดันนี้คือ อัลบั้ม Free Jazz ของ Ornette Coleman ปี 1961 ที่เป็นการบันทึกเสียงวงดนตรี 4 ชิ้น 2 วง เล่นด้นสดกันแบบแทบไม่เตี๊ยมกัน โดยทุกคนเลือกใช้โน้ตได้โดยเสรี
.
เนื่องด้วยหัวหอกหลักของกระแสนี้ ล้วนเป็นนักดนตรีคนดำในบริบทการต่อสู้ทางการเมืองของสิทธิคนดำในช่วงทศวรรษที่ 1960 พอดี ผู้คนจึงมักเชื่อมโยงว่าดนตรี “ฟรีแจ๊ส” เป็นตัวแทนของการร้องหาเสรีภาพของคนดำในช่วงนั้น
.
ทั้งนี้ ดนตรีแจ๊สในแบบที่มีอิสระเกินขนบ แต่ยังคงการประพันธ์เพลงในระดับโครงสร้างและเมโลดี้หลักไว้อยู่ ก็มักจะเรียกกันว่า “อวองการ์ดแจ๊ส” และสงวนคำว่า “ฟรีแจ๊ส” เอาไว้สำหรับดนตรีที่เกิดจากการด้นสดโดยอิสระของนักดนตรีล้วนๆ แนวทางทั้งหมดนี้บางครั้งก็ถูกประสานกลับมาในขนบให้ฟังง่ายขึ้นและเรียกรวมๆ ว่า “โมเดิร์นแจ๊ส”



5. Fusion Jazz
การอุบัติขึ้นของดนตรีร็อคแอนด์โรล ในทศวรรษที่ 1950 ได้ทำให้ดนตรียอดนิยมในหมู่วัยรุ่นได้เปลี่ยนไปจากดนตรีที่มีฐานแบบแจ๊ส ไปเป็นดนตรีที่มีฐานแบบร็อคแอนด์โรล จังหวะสวิงที่เป็นฐานมาตลอดตั้งแต่ยุคดนตรีสวิงแจ๊ส ก็ถูกแทนที่ด้วยจังหวะจะโคนแบบร็อคที่กำลังฮิตอย่างเด็ดขาดเรียบร้อยในช่วงทศวรรษที่ 1960
.
ในขณะที่นักดนตรีแจ๊สหลายๆ ส่วนก็เข้าร่วมกระแสดนตรีบีบ็อปที่พยายามจะทำให้ดนตรีแจ๊สพิสดารพันลึกขึ้น ดนตรีอีกส่วนก็ต้องการจะทดลองอะไรใหม่ๆ ด้วยการผสมดนตรีแบบใหม่อย่างร็อค ซึ่ง “ดนตรีลูกผสม” แบบใหม่ที่เป็นแจ๊สปนร็อคนี้ก็ถูกเรียกว่า “ฟิวชั่นแจ๊ส” โดยที่ชุมชนแจ๊สก็นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่าฟิวชั่นเฉยๆ
.
เนื่องจากดนตรีร็อคก็มีพัฒนาการอย่างเข้มแข็งตลอดครึ่งหลังศตวรรษที่ 20 ดนตรีแจ๊สผสมร็อคก็เลยพัฒนาไปพร้อมๆ กันนั้น นี่เองเป็นสิ่งที่ทำให้ดนตรีฟิวชั่นมีความหลากหลายมาก
.
อย่างไรก็ดีพื้นฐานที่ทำให้ฟิวชั่นต่างจากดนตรีแจ๊สแบบดั้งเดิมอย่างที่สุดก็คือ การเปลี่ยนจังหวะจะโคนพื้นฐานจากสวิงมาเป็นจังหวะแบบดนตรีร็อคนั่นเอง ทั้งนี้ในหลายๆ ครั้ง แนวทางฟิวชั่นที่นิยมกันก็คือ การผสมแจ๊สกับดนตรีฟังก์ร็อคออกมาเป็นแจ๊สที่มีจังหวะจะโคนแบบฟังก์ ที่เครื่องดนตรีเด่นคือเบสไฟฟ้า และแนวทางนี้ก็ทำให้เครื่องดนตรีเบื้องหลังอย่างเบสไฟฟ้าได้มาเป็นพระเอกบ้างในดนตรีแจ๊ส ซึ่งศิลปินที่ถือได้ว่ามีความโดดเด่นที่สุดในสายนี้ก็คือที่สุดก็คือ Marcus Miller



6. Smooth Jazz
ในขณะที่ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1940 เป็นต้นมา นักดนตรีแจ๊สได้พัฒนาดนตรีแจ๊สให้กลายเป็นดนตรีซับซ้อนฟังยากไปจนสุด แต่ในช่วงทศวรรษที่ 1970 นี่เองที่นักดนตรีแจ๊สพยายามจะทำให้ดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีฟังง่ายสบายๆ เรียกได้ว่าไม่ต้องไต่กระไดฟัง

ผลคือนักดนตรีแจ๊สก็เริ่มเอาองค์ประกอบแบบป็อปหลากรูปแบบมาใส่ในดนตรีแจ๊ส เพื่อให้ดนตรีออกมานุ่มนวลฟังสบาย ไม่ใช่แจ๊สแบบเข้มข้นที่ขนโน้ตแบบพิสดารมาด้นสดกันไฟแลบอย่างยาวยืด
.
ซึ่งภายหลังในทศวรรษ 1990 ก็มีคลื่นวิทยุจำนวนมากที่เปิดแต่เพลงแจ๊สสไตล์นี้ และมันก็ได้รับการขนานนามว่า “สมูธแจ๊ส” มานับแต่นั้น ซึ่งนักดนตรีที่มีชื่อเสียงมากในสายนี้ก็ได้แก่ Kenny G และ George Benson



7. Gypsy Jazz
ในขณะที่ฝั่งอเมริกากำลังขยายความนิยมดนตรีแจ๊สไปเรื่อยหลังยุค 1920’s พอดนตรีแจ๊สเข้ามาในยุโรป มันก็ไปผสมกับแนวทางดนตรีของคนกลุ่มน้อยที่เป็นนักดนตรีเร่อย่างพวกยิปซี โดยในฝรั่งเศสจะเรียกคนยิปซีว่า “มานูช” (manouche) ดนตรีแบบนี้ก็เลยถูกเรียกในฝรั่งเศสว่า “มานูชแจ๊ส” ซึ่งชื่อที่เป็นที่รู้จักกันระดับสากลมากกว่าคือ “ยิปซีแจ๊ส”
.
ว่ากันว่าดนตรีชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากการที่นักกีต้าร์ชาวยิปซีฝรั่งเศสเชื้อสายเบสเยี่ยมอย่าง Django Reinhardt นำเอาดนตรีแจ๊สมาเล่นในสไตล์ของตนเองด้วยกีต้าร์ และใช้รูปแบบวงดนตรีเล็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเครื่องสายล้วน อันได้แก่ กีต้าร์ ไวโอลิน และดับเบิ้ลเบส ไม่มีเครื่องเป่าทองเหลือง เปียโน และกลองชุดไปจนถึงวงแบบ “บิ๊กแบนด์” ในแบบวงแจ๊ส
อเมริกัน
.
การประสมวงเป็นวงเครื่องสายล้วน แทนที่จะใช้เครื่องทองเหลืองเป็นตัวเอก ทำให้ยิปซีแจ๊สมีสุ้มเสียงทางดนตรีที่ต่างออกไปจากแจ๊สในสไตล์อเมริกันมากๆ และสร้างชื่อเสียงให้กับ Django มหาศาล ทั้งนี้ ดนตรียิปซีแจ๊สดูจะหายไปพร้อมๆ กับการเสื่อมความนิยมดนตรีแจ๊สช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ก่อนทีจะได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง โดยนักกีต้าร์ร่วมสมัยที่ศรัทธาในแนวทางของ Django อย่าง Biréli Lagrène

 

8. Vocal Jazz
ดนตรีแจ๊สไม่ใช่ดนตรีบรรเลงเท่านั้น แต่เป็นดนตรีที่มีการร้องด้วย การร้องเพลงแจ๊สเริ่มมาพร้อมๆ กับการได้รับความนิยมของดนตรีแจ๊สในวงกว้างช่วงทศวรรษที่ 1920 ซึ่งการร้องแบบแจ๊สโดยทั่วไปก็จะต้องเป็นการร้องโดยใช้ไมโครโฟนขยายเสียง ซึ่งทำให้เทคนิคต่างๆ เป็นเทคนิคที่ทำมาใช้กับไมโครโฟนโดยเฉพาะ ต่างจากการร้องเพลงอย่างดั้งเดิมที่จะไม่ใช้ไมโครโฟนและใช้เสียงดัง

นักร้องแจ๊สชายในช่วงแรกจะได้รับการขนานนามว่า “ครูนเนอร์” ซึ่งสื่อถึงการร้องแบบเบาและนุ่มนวล เพื่อสื่ออารมณ์อันเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฎมาก่อนจะมีไมโครโฟน ซึ่งครูนเนอร์ที่โด่งดังที่สุดคงหนีไม่พ้น Frank Sinatra ส่วนในฝั่งนักร้องเพลงแจ๊สหญิงอีกจำนวนมากก็ได้สร้างชื่อเสียงมากเช่นกัน เช่น Billie Holiday
.
อนึ่ง เพลงที่นักร้องแจ๊สนิยมนำมาร้องกัน ก็มักจะเป็นเพลงแจ๊สระดับคลาสสิคจากต้นศตวรรษที่ 20 หรือที่เรียกว่า “แสตนดาร์ดแจ๊ส” ซึ่งเป็นบทเพลงที่ถูกรวมไว้ในหนังสือเพลง The Great American Songbook



9. Bossa Nova
หลังจากดนตรีแจ๊สเป็นที่นิยมไปทั่วโลกตอนต้นศตวรรษที่ 20 ดนตรีแจ๊สก็ได้กระจายไปผสมดนตรีในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งผลผลิตก็มักจะเป็นดนตรีแจ๊สที่มีกลิ่นแบบดนตรีท้องถิ่นผสม ซึ่งดนตรีในรูปแบบเหล่านี้ก็ไม่ได้รับความนิยมไปเสียหมด
แต่ทว่า หนึ่งในดนตรีแจ๊สที่ผสมกับดนตรีท้องถิ่นแล้วกลับได้รับความนิยมอย่างมากในระดับนานาชาติก็คือ ดนตรีจากบราซิลอย่าง “บอสซาโนวา” ที่เป็นภาษาโปรตุเกสแปลว่า “กระแสใหม่”
.
โดยตัวมันเอง บอสซาโนวาคือดนตรีแซมบ้าผสมกับดนตรีแจ๊ส ซึ่งความโด่งดังของมันก็ทำให้มันเป็นดนตรีแจ๊สที่มีกลิ่นแบบลาตินอเมริกันที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
.
บทเพลงที่ดังที่สุดของ Bossa Nova ก็คือ Garota de Ipanema หรือที่รู้จักกันในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษว่า The Girl From Ipanema อันเป็นผีมือการประพันธ์ของเจ้าพ่อเพลงบอสซาโนวาอย่าง Antonio Carlos Jobim ซึ่งน่าจะเป็นเพลงบอสซาโนวาที่ถูกนำมาบันทึกเสียงซ้ำบ่อยที่สุด ตั้งแต่ดังระเบิดในเวอร์ชั่นที่ Astrud Gilberto ร้องเป็นภาษาโปรตุเกส มาจนถึงเวอร์ชั่นร่วมสมัยของ Amy Winehouse



10. Pop Jazz
ณ ปัจจุบัน ดนตรีแจ๊สก็กลับมาเป็นดนตรีร่วมสมัยอีกครั้งในรูปแบบเพลงป็อป จากการที่นักดนตรีป็อปจำนวนไม่น้อยได้นำดนตรีแจ๊สเข้าไปผสมกับดนตรีป็อปและได้แนวทางใหม่เกิดเป็นดนตรี “ป็อปแจ๊ส” ขึ้นมา
.
ลักษณะของ Pop Jazz โดยรวมนั้น ถือได้ว่ามีความนุ่มละมุนกว่าดนตรีแบบป็อปร็อคที่เป็นที่นิยมกันมากในช่วงทศวรรษ 1980 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ งานที่เข้าข่ายป็อปแจ๊สก็น่าจะรวมถึงงานของศิลปินอย่าง Norah Jones ไปจนถึง Michael Buble’ หรืออีกนัยหนึ่ง งานเหล่านี้ก็คืองานดนตรีป็อปร่วมสมัยที่มีกลิ่นอายแจ๊สเข้ามา แต่ก็มีไม่มากพอที่เหล่านักฟังเพลงแจ๊สโดยตรงจะยอมรับว่าเป็นแจ๊สนั่นเอง


ที่มา https://www.sanook.com/music/2383189/ 
 

รู้จักไหม ? กระทรวงแพทยาคม กระทรวงการไสยเวทย์ของไทย !!!!

รู้กันรึเปล่า ? ว่าในอดีตนั้นประเทศไทยของเรานั้นเคยมีกระทรวงเวทมนตร์นะ แต่ไม่ได้ใช้ชื่อ กระทรวงเวทมนตร์ นะ แต่ในตอนนั้นประเทศไทยเราใช้ชื่อ กระทรวงแพทยาคม หรือบางบันทึกเรียกว่า ศาลกระทรวงแพทยา ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทางไสยศาสตร์โดยเฉพาะ
.
กระทรวง แพทยาคม คืออะไร?
แพทยาคม นั้นมาจากคำว่า แพทย และ อาคม รวมกัน โดยคำว่า แพทย มีความหมายว่า หมอรักษาโรค ส่วนคำว่า อาคม มีความหมายว่า เวทมนตร์ รวมกันมีความหมายว่า หมอรักษาโรคเกี่ยวกับเวทมนตร์
.
กระทรวงแพทยาคม ตามประวัติศาสตร์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเกิดขึ้นสมัยใด แต่ถูกกล่าวถึงในหลายรัชสมัย เช่น พระเจ้าอู่ทอง พระเจ้าทรงธรรม แต่ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ได้ปรากฏบันทึกว่า กระทรวงแพทยาคม มีไว้เพื่อชำระคดีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับคุณไสย เสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปด้วยวิทยาคมเอาไว้ โดย วิทยาคม มาจาก วิทย และ อาคม รวมกัน โดยคำว่า วิทย มีความหมายว่า ความรู้ ส่วนคำว่า อาคม มีความหมายว่า เวทมนตร์ รวมกันจึงมีความหมายว่า ความรู้เกี่ยวกับเวทมนตร์ (ส่วน วิทยาคม ที่เห็นในชื่อโรงเรียนนั้น คำว่า อาคม มีอีกความหมาย คือ การมาถึง ดังนั้น วิทยาคม, พิทยาคม ในชื่อโรงเรียน จึงมีความหมายว่า การมาถึงของความรู้)
.
กระทรวงแพทยาคม หรือ ศาลกระทรวงแพทยา จะมีผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาคมเป็นตุลาการ มีหน้าที่สอบสวนพิจารณาโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทางไสยศาสตร์ เรื่องคุณไสยโดยเฉพาะ โดยจะมีอำนาจหน้าที่พิจารณา ความกล่าวหาว่าเป็นกระสือกระหัง ทำเวทมนตร์อาคม ใส่ว่านยา ทำเสน่ห์ยาแฝดยาเมา รีดลูก โดยผู้เสียหายไม่ถึงตาย หรือคดีพราหมณ์โยคีเป็นโจทก์จำเลยหาความกัน เป็นต้น ถ้าความเกิดในหัวเมือง ขุนหมื่นกรมแพทยาหัวเมือง เป็นผู้พิจารณา
.
โดย กระทรวงแพทยาคม หรือ ศาลกระทรวงแพทยา มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น จนกระทั่งถูกลดบทบาทและอำนาจจาก ศาลกระทรวงแพทยา เป็น ศาลกรมแพทยา ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ ปี ๒๓๘๐ และในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ เกิดการปฏิรูปหลายอย่างในแผ่นดิน หนึ่งในนั้นคือ การปฏิรูปศาล เนื่องจากเกิดวิกฤตทางการศาล และท้ายที่สุด ศาลกรมแพทยา ถูกยุบลง เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๓๔ เพราะถูกมองว่าล้าหลัง ไม่ทันสมัย ประกอบกับเวลานั้น รัชกาลที่ ๕ มีนโยบายพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมชาติมหาอำนาจ จึงต้องยกเลิกกระทรวงนี้ไปในที่สุด


ที่มา https://www.sanook.com/campus/1401991/?fbclid=IwAR1yKkGNn8flTTbBN1ZPv6Sr8WNf8G6Ptc01eRjea1KgoqTblV0f0bCqYNI 
 

คุยเรื่องเพศกับลูก ตอนอายุเท่าไหร่ ? สอนแบบไหนถึงจะเหมาะสม ?

ปัจจุบันเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศเป็นปัญหาใหญ่ที่เด็กมักประสบพบเจอ สาเหตุหลักก็มาจากพวกเขายังไม่ทราบว่าสิ่งดังกล่าวคืออะไร และสิทธิในร่างกายตัวเองมีมากน้อยแค่ไหน วิธีการเลี้ยงลูกของพ่อแม่จึงสำคัญมาก โดยเฉพาะการสอนเรื่องเพศให้ลูก แต่พ่อแม่หลายคนก็กลัวว่าจะยังไม่เหมาะสม เราจึงขอนำเสนอแนวทางว่าควรคุยเรื่องเพศกับลูก ตอนอายุเท่าไหร่ ?  รวมถึงควรจะสอนอย่างไรดี ?  มาดูกันเลย


คุยเรื่องเพศกับลูกตอนไหนดี ? 
การพูดคุยเรื่องเพศกับลูกเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเด็กที่คุยกับพ่อแม่อย่างเปิดเผยในเชิงบวกมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดพลาด พ่อแม่จึงควรค่อย ๆ เข้าหาและพูดคุยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ลูกยังอยู่ในวัยเตาะแตะ เมื่อลูกก้าวเข้าสู่วัยรุ่นเขาก็จะกล้ามาปรึกษา และสามารถพูดคุยในเชิงลึกได้มากขึ้น ส่วนจะชวนคุยยังไงดีนั้น ลองมาดูคำแนะนำกัน
.
1. คุยเมื่อถึงเวลา พ่อแม่ควรสอนลูกตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ ให้เขาได้รู้ว่าอวัยวะใดของเขาที่ห้ามคนอื่นมาสัมผัส เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในช่วงวันที่เริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว ก็ค่อย ๆ สอนเขาว่าคืออะไร เพื่อให้เด็กรู้สึกไม่เขินอายเวลาที่ต้องการคำปรึกษา
.
2. คุยเมื่อลูกถาม ในวัยที่ลูกต้องไปโรงเรียน ลูกย่อมได้เรียนเรื่องเพศศึกษามาจากในชั้นเรียน แต่เขาอาจจะไม่เข้าใจในรายละเอียดทั้งหมด พ่อแม่ลองหาโอกาสพูดคุยถึงเนื้อหาในชั้นเรียนของเขา และเมื่อลูกสงสัยก็ให้ถาม โดยต้องอธิบายตามความจริง อย่าโกหก มิฉะนั้นจะทำให้ลูกสับสนได้
.
3. คุยเมื่อมีโอกาส หรือตามสถานการณ์ ไม่ใช่อยู่ ๆ จะไปสอนหรือพูดคุยเรื่องเพศเลย แต่มองหาโอกาสจากการดูโทรทัศน์ เมื่อมีข่าว หรือมีฉากเลิฟซีนในละคร ลองถามลูกว่าเห็นแล้วเป็นอย่างไร บอกลูกว่าการที่เราแสดงความรัก เช่น กอด จูบ หรือสัมผัส จะนำไปสู่อะไรได้บ้าง ต้องรอเวลาหรือไม่ หากไม่ระวังจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งควรสอนเมื่อถึงเวลาและช่วงอายุอันสมควร

 

 

ลูกอายุเท่าไหร่ ถึงคุยเรื่องเพศได้
1. วัยแรกเกิด - 2 ขวบ
แม้เด็ก ๆ จะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ลูกสามารถเรียนรู้และจดจำคำต่าง ๆ ที่พ่อแม่สอนได้ โดยในวัยนี้พ่อแม่ควรสอนให้เขารู้จักอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะเพศว่าของตนเป็นแบบไหน ของเพศตรงข้ามเป็นแบบไหน แตกต่างกันอย่างไร หากลูกสัมผัสอวัยวะเพศของตนเองก็อย่าไปห้าม อย่าคิดว่าเป็นสิ่งน่าอาย เพราะกำลังอยู่ในช่วงวัยเรียนรู้ของเขา
.
2. วัย 3 - 5 ขวบ
ช่วงวัยนี้ควรให้เด็ก ๆ เรียนรู้ถึงสิทธิในร่างกายตัวเอง ให้เขารู้ว่าอวัยวะส่วนไหนเป็นส่วนที่ห้ามแตะต้องไม่ว่าจะจากใครก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อเขาไม่ยินยอม ห้ามคนอื่นแตะต้องอวัยวะเพศของเขา ควรสอนให้รู้ว่าควรระมัดระวังตัวอย่างไร และในวัยนี้ลูกจะเริ่มสงสัยว่าเขาเกิดมาได้อย่างไร ก็ให้พ่อแม่ค่อย ๆ อธิบายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่าสเปิร์มและไข่ผสมกันแบบไหน โดยเลือกใช้คำที่น่ารักเหมาะสม ที่สำคัญคือต้องไม่โกหกเขา
.
3. วัย 6 - 8 ขวบ
วัยนี้เป็นวัยที่เด็ก ๆ เริ่มเข้าถึงอินเตอร์เน็ต อาจมีบ้างที่ไปเจอเว็บไซต์อนาจาร ซึ่งถ้าเห็นลูกเข้าเว็บไซต์เหล่านั้นก็อย่าไปดุด่า แต่บอกให้ชัดเจนว่ามันยังไม่ถึงเวลาที่จะเข้าชมเพราะมันเป็นเว็บไซต์ของผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังเป็นวัยที่ควรสอนเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศได้แล้ว โดยสอนให้ลูก ๆ เห็นถึงอันตรายและความน่ากลัวเมื่อถูกคนอื่นล่วงเกิน นอกจากนี้ยังสามารถให้เรียนรู้ถึงความหลากหลายเรื่องเพศได้แล้วว่าไม่ได้มีแค่เพศชายและเพศหญิงเท่านั้น แต่ยังมี LGBTQ+ ด้วย เพื่อให้เขาไม่แบ่งแยกและไม่เหยียดผู้อื่น
.
4. วัย 9 ขวบ - 12 ปี
วัยที่เริ่มโตเป็นหนุ่มเป็นสาว จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระและร่างกายอย่างชัดเจน สอนเขาว่าสิ่งที่เกิดกับร่างกายคืออะไร เช่น เสียงแตก ฝันเปียก มีประจำเดือน ฯลฯ รวมถึงสอนเรื่องสุขอนามัย นอกจากนั้นวัยนี้เริ่มมีความสนใจในเรื่องของความรักและเพศสัมพันธ์ พ่อแม่จะต้องสอนให้เข้าใจถึงวิธีการอย่างถูกต้อง การป้องกัน และเวลาที่เหมาะสม เด็กวัยนี้จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เยอะขึ้น ดังนั้นอย่าไปจู้จี้มาก เพียงแค่พร้อมจะตอบคำถามและรับฟังเขาก็พอ
.
5. วัยรุ่น (13 ปีขึ้นไป)
ช่วงวัยรุ่นเด็กจะเริ่มอยากรู้อยากลอง อีกทั้งสภาพสังคมปัจจุบันเป็นเรื่องยากที่จะห้ามไม่ให้สนใจเรื่องเพศ ดังนั้นพ่อแม่ควรเริ่มสอนถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย รวมถึงเปิดใจพูดคุยเรื่องความรักความสัมพันธ์ที่เขากำลังพบเจออยู่ การพูดคุยเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นเหมือนเรื่องปกติในชีวิตประจำวันจะทำให้ลูกกล้าเปิดใจคุยกับพ่อแม่ กล้าปรึกษาเมื่อเกิดปัญหา และสามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
.
การพูดคุยเรื่องเพศกับลูกไม่ใช่เรื่องที่ควรเหนียมอาย หรือเก็บไว้เป็นความลับ และไม่ใช่สิ่งที่เด็ก ๆ ควรจะเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะอาจจะนำไปสู่เรื่องผิดพลาดมากมายได้ ดังนั้นจึงควรสอนตั้งแต่เขายังเล็ก เพื่ออนาคตและความปลอดภัยของเขาเอง


ที่มา https://baby.kapook.com/view253196.html 
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STUDY TIMES
Take Me Top